ปลาร้าคุณภาพดีย่อมมาจากกรรมวิธีผลิตที่ดีด้วยเช่นกัน การทานปลาร้าที่จะทำให้มั่นใจว่าได้ทั้งรสชาติและสุขอนามัยที่ดีต้องรู้ว่ากรรมวิธีผลิตปลาร้ามีอะไรบ้าง เพื่อให้การกินน้ำปลาร้าถูกคอและสบายใจก็ต้องรู้จักกรรมวิธีผลิตให้ดี เพราะทุกขั้นตอนมีความสำคัญและเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคไม่ควรละเลย
- ปลาสดใหม่และทำความสะอาดเรียบร้อย
ขั้นตอนแรกของกรรมวิธีการผลิตปลาร้าคือการเลือกปลา ไม่ว่าจะเป็นปลาอะไรก็ต้องเลือกปลาที่สะอาดสดใหม่ หากปลาไม่สดก็อาจจะทำให้น้ำปลาร้าบูดหรือเสียได้ง่าย หรืออาจจะมีกลิ่นที่ไม่ค่อยดี นอกจากจะต้องเลือกปลาสดแล้วก็ต้องทำความสะอาดปลาเป็นอย่างดี ทั้งการนำไส้และขี้ปลาออกให้หมดก่อน ส่วนปลาที่มีเกล็ดก็ต้องขอดเกล็ดให้หมด ครีบหรือเงี่ยงปลาต้องเอาออกก่อนนำไปหมัก เพื่อให้น้ำปลาร้าไม่มีกลิ่นและทานได้ง่าย หากขั้นตอนแรกทำได้สะอาดก็ถือว่าเป็นหนึ่งในปลาร้าที่ควรเลือกมาทาน
- ภาชนะที่ใช้หมักสะอาดมีฝาปิดมิดชิด
เมื่อล้างปลาที่จะนำมาหมักแล้วก็ต้องเลือกภาชนะที่สะอาดซึ่งมีฝาปิดมิดชิด เพื่อไม่ให้แมลงวันไปวางไข่หรือมีแมลงและสัตว์อื่น ๆ เข้าไปทำให้ปลาร้าหมักสกปรก หากไม่มีฝาปิดต้องใช้ผ้าหรือพลาสติกปิดคลุมให้ดี เพราะการหมักปลาร้าต้องใช้เวลานานพอสมควร จึงต้องมีสิ่งปิดคลุมให้ดีก่อนจะนำมาทาน
- ส่วนผสมทุกอย่างต้องทำความสะอาด
การหมักปลาร้าต้องใช้น้ำสะอาด เกลือบริสุทธิ์ ข้าวคั่วคุณภาพดีไม่มีกลิ่นเหม็นหืน และรำที่สดใหม่ เพราะถ้าใช้ส่วนผสมที่ไม่สะอาดจะทำให้ปลาร้าที่หมักไม่สะอาดไปด้วย ยิ่งกว่าความไม่สะอาดคือทำให้ปลาที่นำมาหมักเน่าเสียจนทานไม่ได้ ฉะนั้นขั้นตอนนี้ก็เป็นกรรมวิธีที่สำคัญจึงควรพิจารณาก่อนทานว่าน้ำปลาร้าที่กำลังจะทานมีส่วนผสมที่นำมาหมักสะอาดดีหรือไม่ เพื่อให้การทานปลาร้าอร่อยและและปลอดภัย
กรรมวิธีผลิตน้ำปลาร้าถือเป็นเรื่องที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก เพราะทุกขั้นตอนที่ผลิตไม่เพียงแต่จะทำให้รสชาติอร่อย แต่ยังทำให้ปลาร้าถูกหลักอนามัยไม่ทำให้ผู้ทานเกิดโรคท้องเสียหรือท้องร่วง หรืออาจมีพยาธิใบไม้ตับที่อาจส่งผลจนกลายเป็นมะเร็งตับได้ การเลือกปลาร้าที่มีกรรมวิธีผลิตที่ดีถือเป็นการป้องกันโรคที่อาจมากับสิ่งสกปรกที่แฝงมากับปลาร้าซึ่งมีกรรมวิธีผลิตไม่ได้มาตรฐาน เรียกได้ว่ากินน้ำปลาร้าที่ผลิตถูกวิธีจะทำให้สบายกายและสบายใจนั่นเอง