อาหารอีสานเมนูต่าง ๆ จะขาดปลาร้าไปคงไม่ได้ เพราะรสชาติปลาร้าถือเป็นตัวชูรสให้แทบจะทุกเมนูอาหาร ซึ่งปัจจุบันนี้วัฒนธรรมการกินได้มีการขยายไปทั่วประเทศ รวมถึงขยายไปยังต่างประเทศ เพราะมีการขายผ่านออนไลน์จำนวนมาก การเลือกทานน้ำปลาร้าจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แต่เมื่อมีปลาร้าในท้องตลาดให้เลือกกินมากขึ้นก็อาจจะมีแบรนด์มากมายให้เลือกตามรสชาติที่ชอบ แต่ปลาร้าแต่ละแบรนด์ก็มีรสชาติโดดเด่นไม่เหมือนกัน สาเหตุที่รสชาติแตกต่างกันก็มีหลายข้อด้วยกัน ดังนี้
ปลาร้าสุกและปลาร้าดิบมีรสชาติต่างกัน
การทานน้ำปลาร้าที่ปรุงสุกกับปลาร้าที่ยังดิบจะมีรสชาติต่างกัน เนื่องจากปลาร้าดิบเป็นปลาร้าที่นำมาบริโภคหลังจากการหมักดอง ไม่ผ่านการปรุงสุกใด ๆ เมื่อทานอาจจะรู้สึกเข้มข้นกว่าปลาร้าปรุงสุก แต่นั่นหมายถึงการทานปลาร้าที่อาจมาเชื้อโรคเจือปนอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การกินน้ำปลาร้าที่จะให้รสชาติเข้มข้นอาจต้องเลือกแบรนด์ที่มีรสชาติเข้มแต่ต้องผ่านการทำความสะอาดมาเป็นอย่างดี
ส่วนผสมในการหมักปลาร้า
แม้จะใช้ส่วนผสมในการหมักที่ไม่เหมือนกัน รวมถึงปริมาณที่ใช้ก็แตกต่างกันไปด้วย ซึ่งส่วนผสมและปริมาณที่ใช้จะมีผลต่อรสชาติน้ำปลาร้าเป็นอย่างมาก หากอยากรู้รสชาติของปลาร้าก่อนซื้ออาจไม่ต้องชิม เพียงดูส่วนผสมก็พอจะรู้ว่ารสชาติของปลาร้าที่กำลังจะซื้อเป็นอย่างไร
ระยะเวลาการหมักปลาร้า
น้ำปลาร้าที่แตกต่างกันเรื่องรสชาติมักจะมีสาเหตุจากระยะที่หมักปลาร้าด้วยเช่นกัน เพราะถ้าหมักนานกว่าสามเดือนขึ้นไปรสชาติจะอร่อยกว่าระยะเวลาที่หมักน้อยกว่านี้ และปลาที่มีขนาดตัวใหญ่อาจจะใช้เวลาหมักนานกว่า 3 เดือน ซึ่งบางรายอาจหมักเป็นปีเลยทีเดียว ฉะนั้นรสชาติของปลาร้าที่แตกต่างกันก็มีสาเหตุจากระยะเวลาการหมัก ผู้บริโภคอาจต้องดูที่ภาชนะหรือถามผู้ขายว่าหมักนานเท่าไร
ชนิดปลาที่ใช้ในการหมัก
ปลาแต่ละชนิดที่จะทำให้น้ำปลาร้ารสอร่อยและมีกลิ่นหอมชวนทานนั้นมีลักษณะเฉพาะตัว แต่ปลาที่ไม่นิยมนำมาทำปลาร้าคือปลาที่มีมันมากเพราะรสไม่อร่อยและกลิ่นไม่หอมเหมือนปลาที่นิยมนำมาทำปลาร้าโดยทั่วไป หากต้องการนำปลาร้าไปทำเมนูอาหารใดต่อก็ควรดูด้วยว่าปลาที่ซื้อมานั้นเป็นปลาชนิดใด
รสชาติของปลาร้าแต่ละแบรนด์เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีองค์ประกอบต่างกัน ยิ่งกว่านั้นยังมีระยะเวลาและชนิดปลาเกี่ยวข้องระหว่างการหมักปลาร้าด้วย หากผู้บริโภคต้องการกินปลาร้าให้ตรงกับรสชาติที่ตนเองชอบก็ควรอ่านรายละเอียดและส่วนประกอบบนบรรจุภัณฑ์ให้ดีก่อนซื้อ เพื่อจะได้ทานปลาร้า รสชาติถูกใจในแบบฉบับของตนเอง