อาหารอร่อยรสชาติเด็ดคือสิ่งมัดใจคนกินให้เจริญอาหาร แต่อาหารประเภทหมักดองอย่างปลาร้าอาจต้องเพิ่มความระมัดระวังความสะอาด เพราะนอกจากอาหารจะอร่อยแล้วก็ต้องคำนึงถึงสุขอนามัยด้วย เชื้อโรคที่อาจมากับปลาร้าที่ไม่ได้มาตรฐานมีหลายชนิดหากไม่ระมัดระวัง ลองดูกันว่าเชื้อโรคชนิดใดบ้างอาจจะแฝงตัวมาหากไม่ทำอาหารจากน้ำปลาร้าที่ได้มาตรฐาน
- พยาธิใบไม้ตับ
หากน้ำปลาร้าที่สะอาดก็คงไม่ต้องกังวลว่าจะมีพยาธิ เพราะพยาธิใบไม้ตับมักจะพบในเนื้อดิบ และปลาร้าดิบก็เป็นหนี่งในอาหารที่ต้องระวังพยาธิชนิดนี้ โดยพยาธิใบไม้มีขนาดยาว 5 – 10 มล. และแบนคล้ายใบไม้ ผู้ป่วยที่มีพยาธิใบไม้ตับมีอาการเบื่ออาหาร จุกใต้ลิ้นปี่ ถ่ายเหลว และอาจมีไข้ต่ำ หากปล่อยไว้นานจนถึงระยะท้ายตับจะโตมาก น้ำในช่องท้องมีมากและทำให้เกิดอาการบวมน้ำ และเมื่อลุกลามก็จะกลายเป็นมะเร็งตับได้ ฉะนั้นการเลือกกินน้ำปลาร้าที่สะอาดและได้มาตรฐานจึงจะช่วยหลีกเลี่ยงเชื้อโรคอย่างพยาธิใบไม้ตับได้
- บาซิลลัส ซีเรียส
ชื่อเชื้อโรคตัวนี้อาจจะจำยากไปนิด แต่ผู้ที่ชื่นชอบน้ำปลาร้าก็ควรจำไว้ให้ขึ้นใจ เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงจากเชื้อโรคตัวร้ายนี้ให้ห่างไกลมากที่สุด เนื่องจากบาซิลลัส ซีเรียสที่ปลอมปนในอาหารจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว หรือที่เรียกว่าอาหารเป็นพิษนั่นเอง เมื่อเป็นโรคนี้แล้วก็จะทรมานและต้องพบแพทย์ทันที เพราะบางรายต้องรับยาฆ่าเชื้อหรือรับการรักษาทันทีก่อนจะมีอาการมากขึ้นกว่าเดิม
- เอสเชอริเซีย โคไล หรือ เชื้อ อี.โคไล
เชื้อโรคชนิดนี้อาจได้ยินกันบ่อยพอสมควร เพราะเป็นเชื้อโรคที่แฝงตัวในเนื้อดิบหรืออาหารดิบชนิดอื่น ๆ ที่ไม่สะอาดหรือไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ หากได้รับเชื้อโรคนี้เข้าไปในร่างกายจะถ่ายเหลวหรืออาจถ่ายเป็นเลือดได้ อาเจียน ปวดท้องบิดอย่างรุนแรง วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้มีเชื้อโรคเข้าร่างกายได้ก็ต้องทานอาหารปรุงสุก หากทานน้ำปลาร้าที่ไม่ได้ต้มก็ควรทานปลาร้าที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานจะต้องผ่านการทำความสะอาดปราศจากเชื้อโรค เพื่อให้ไม่มีเชื้อ อี.โคไล มาเจือปนอยู่ในอาหารมื้อโปรด
ผู้ที่ชอบทานปลาร้าก็ควรเลือกน้ำปลาร้าอย่างระมัดระวังก่อนทาน เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคอันตรายอย่างที่กล่าวมาข้างต้น เพราะถ้าเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายก็อาจจะก่อให้เกิดโรคตั้งแต่อาการเบาไปจนถึงอาการหนักได้ หากไม่อยากเจ็บป่วยก็ต้องหลีกเลี่ยงปลาร้าที่ไม่ได้มาตรฐานก็จะช่วยได้มาก