“ปลาร้า” เรื่องเหม็น ๆ จากภูมิปัญญาลูกอีสาน สู่ ภูมิปัญญาโลก

  ปฏิเสธไม่ได้เลย หากจะกล่าวถึงเอกลักษณ์อันดับแรกของปลาร้า นั่นก็คือ ความเหม็น แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่าความเหม็นอันรุนแรงนั้น บ่งบอกถึง คุณภาพดี หากนำไปปรุงรสในเมนูอาหารก็จะทำให้รสชาติล้ำเลิศชวนให้น้ำลายสอ มิเพียงแต่ความอร่อย แต่ยังเป็นภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่าที่เล่าต่อสืบสานกันมาอย่างดีชั่วลูกชั่วหลาน

รู้วิธีใช้ปลาร้าปรุงสุกให้มีรสชาตินัวได้ไม่แพ้ปลาร้าดิบ

  การทานอาหารภาคอีสานโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีรสชาติของความเผ็ดร้อน เค็ม เปรี้ยวอย่างครบรส แต่รสชาติหนึ่งที่มักจะมีและใส่อยู่เสมอในเมนูหลัก คือ ปลาร้าที่ต้องเพิ่มเพื่อความนัว แต่เมื่อใส่แล้วก็ต้องไม่ลืมว่าเครื่องปรุงรสนี้เป็นของหมักดองที่อาจมีสิ่งสกปรกปนเปื้อนหากผู้บริโภคเลือกซื้อแบบไม่ระมัดระวัง

น้ำปลาร้าปรุงสุกควรใช้กับเมนูยอดฮิตแบบไหนเพื่อเพิ่มรสชาติ

  อาหารไทยที่เราทุกคนชอบทานอยู่เสมอนั้นมักจะมีเมนูอาหารจากภาคอีสานเป็นเมนูยอดฮิตอยู่ในความนิยมของผู้ชื่นชอบอาหารรสจัดมาโดยตลอด แน่นอนว่าเมนูอาหารจากภาคอีสานจะมีปลาร้าเป็นส่วนประกอบสำคัญในหลาย ๆ เมนู และในบางครั้งก็ใช้เพียงแค่น้ำปลาร้าเป็นส่วนผสมเพื่อช่วยเพิ่มความนัว

รับประทานปลาร้าอย่างไรให้ถูกสุขอนามัยและดีต่อสุขภาพ

  อาหารไทยเป็นอาหารรสจัด ที่ต้องทำอย่างครบรสและจัดจ้าน ยิ่งเป็นอาหารภาคอีสานด้วยแล้ว ยิ่งต้องมีความอร่อยจากปลาร้าเป็นส่วนผสมแทบจะทุกเมนู ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการรับประทานปลาร้าหรือเพียงแค่น้ำปลาร้าเพื่อเอาไว้ปรุงรสชาติก็ตาม หากไม่ทำให้ถูกสุขลักษณะในทุกขั้นตอนก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

น้ำปลาร้าปรุงสุกกับน้ำปลาร้าดิบต่างกันอย่างไร

                ปลาร้า เป็น วัตถุดิบที่เกิดจากการหมักดอง ซึ่งเป็นวิธีการถนอมอาหารที่มีมาอย่างยาวนานในบ้านเรา เมื่อก่อนจะเป็นที่นิยมกันมากของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ในปัจจุบันกลายเป็นที่นิยมกันทั่วประเทศไทย ด้วยรสชาติที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ทำให้กลายเป็นวัตถุดิบที่นิยมนำมาปรุงและชูรสให้อาหาร